แนวทางการป้องกันและดูแลผู้สูงอายุ ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ

ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาคุณภาพการนอนที่ลดน้อยลง อาจหลับยากขึ้น ตื่นบ่อย หลับไม่ลึก และตื่นมาไม่สดชื่น
โดยมีสาเหตุจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงตามวัย รวมถึงอาจมีสาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด วิตกกังวล
อาการปวดต่างๆ กรดไหลย้อน ปัญหาการหายใจ โรคนอนกรน ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน หรือผลข้างเคียงจากยา
แนวทางการป้องกันและดูแลผู้สูงอายุให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ดูแลให้ผู้สูงอายุที่มีอาการเจ็บป่วยทางด้านร่างกายให้ได้รับการจัดการหรือควบคุมอาการต่างๆ
ที่ทำให้เกิดความไม่สุขสบายตัว ได้รู้สึกดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อการนอนหลับ - ลดปัญหาการปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
โดยแนะนำให้ผู้สูงอายุปัสสาวะก่อนเข้านอน หรือจัดที่นอนให้อยู่ใกล้ห้องน้ำ หรือเตรียมกระโถนไว้ภายในห้องนอน - แนะนำให้ผู้สูงอายุดื่มนมอุ่นๆ หรือโอวัลตินก่อนนอน
- แนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานมื้อเย็นในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป
อาหารที่ย่อยยากทำให้เกิดการอึดอัดแน่นท้อง นอนไม่หลับ - แนะนำให้ผู้สูงอายุสวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย ไม่คับจนเกินไป
- ควรมีกิจกรรมที่ทำในช่วงกลางวัน เช่น ทำความสะอาดบ้าน รดน้ำต้นไม้ หลีกเลี่ยงการนอนหลับตอนกลางวัน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทถั่ว ผักดิบ ของหมักดอง เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดแก๊สในกระเพราะอาหารมาก
ส่งผลให้รู้สึกไม่สบายตัว ทำให้นอนหลับยาก นอกจากนี้ควรงดอาหารที่มีไขมันสูงก่อนนอน เพราะทำให้ระบบการย่อยอาหารต้องทำงานหนัก - หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนนอน 3 ชั่วโมง เนื่องจากการออกกำลังกายในตอนเย็นหรือก่อนนอน
จะเพิ่มระดับการกระตุ้นระบบประสาทโดยอัตโนมัติ ทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น - ถ้านอนไม่หลับภายใน 30 นาทีให้ลุกจากเตียงและทำกิจกรรมอื่นเบาๆ จนกว่าจะรู้สึกง่วงนอนอีกครั้ง
- ช่วยผู้สูงอายุผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนนอนโดยการนวดตามร่างกายของผู้สูงอายุ
ทำให้เกิดการผ่อนคลายทั้งด้านจิตใจและอารมณ์ ช่วยลดความเครียด - การฝึกสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว
เพื่อให้มีสติรู้อิริยาบถปัจจุบันของร่างกาย จิตใจ และอารมณ์
การฝึกหายใจแบบลึกเป็นการผ่อนคลายร่างกาย ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น - แนะนำให้ผู้สูงอายุสวดมนต์และอ่านหนังสือที่ชอบก่อนนอน
- แนะนำให้ฟังเพลงเบาๆ หรือธรรมะก่อนนอน เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดช่วยทำให้การนอนหลับดีขึ้น
- ดูแลให้ได้รับยาช่วยในการนอนหลับตามแผนการรักษา (ในกรณีที่รับการรักษาอยู่กับทางแพทย์)
เช่น ยาคลายกังวล หรือยากล่อมประสาทกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepine) ยาระงับปวด ยาต้านความเศร้า เป็นต้น
ยากลุ่มต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายและเร็วขึ้น ลดจำนวนครั้งของการตื่น และทำให้นอนหลับได้นานขึ้น
ที่มา : https://zeedoctor.com/
Hi, this is a comment.
To get started with moderating, editing, and deleting comments, please visit the Comments screen in the dashboard.
Commenter avatars come from Gravatar.